วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

บทความที่8 กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน



1. ในระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System) มีการแบ่งแยกประเภทกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
2. กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่ใช้ระหว่างเอกชนกับเอกชน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความเท่าเทียมของบุคคล
3. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับเอกชน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานที่ไม่เท่าเทียมกัน

8.1 การแบ่งแยกกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
1. การแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน เป็นลักษณะเด่นของระบบกฎหมายแบบโรมาโน-เยอรมานิก
2. หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งแยกกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนมีหลายประการ เช่น เนื้อหา วัตถุประสงค์ นิติวิธี เป็นต้น
3. ประเทศไทยเริ่มมีการแบ่งแยกกฎหมายเอกชนออกจากกฎหมายมหาชนอย่างชัดเจน หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475

8.1.1 ความจำเป็นในการแบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
ในสมัยโรมันมีการแบ่งแยกประเภทออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนหรือไม่
ในสมัยโรมันมีการแบ่งแยกประเภทออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน แต่เป็นการแบ่งเพื่อจะไม่ต้องศึกษากฎหมายมหาขน


8.1.2 หลักเกณฑ์ในการแบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
การแบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนใช้หลักเกณฑ์ใดบ้าง
เกณฑ์การแบ่งกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนอาจใช้หลักเกณฑ์คือ
(1) เกณฑ์ที่เกี่ยวกับบุคคลผู้ก่อนิติสัมพันธ์
(2) เกณฑ์ที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของนิติสัมพันธ์
(3) เกณฑ์ที่เกี่ยวกับวิธีการที่ใช้ในการก่อนิติสัมพันธ์ระหว่างกัน
(4) เกณฑ์ที่เกี่ยวกับเนื้อหา

8.1.3 พัฒนาการแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนในประเทศไทย
ประเทศไทยมีการแบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมาย เอกชนและกฎหมายมหาชนอย่างชัดเจน ในสมัยใด
ประเทศไทยมีการแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนอย่างชัดเจนในช่วงหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

8.2 การแบ่งแยกสาขาย่อยในกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
1. กฎหมายเอกชนประกอบด้วยกฎหมายสาขาย่อยที่สำคัญคือ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2. กฎหมายมหาชนประกอบด้วยกฎหมายสาขาย่อยที่สำคัญคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง และกฎหมายการคลังและภาษีอากร
3. การแบ่งสาขาย่อยของกฎหมายมหาชนในแต่ละประเทศอาจมีความแตกต่างกันได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์ แนวคิดของนักวิชาการของประเทศนั้นๆ

8.2.1 การแบ่งสาขาย่อยในกฎหมายเอกชน
กฎหมายใดที่ถือว่าอยู่ในสาขาย่อยของกฎหมายเอกชน
กฎหมายที่ถือว่าอยู่ในสาขาย่อยของกฎหมายเอกชน คือ กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและธรรมนูญศาล กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

8.2.2 การแบ่งสาขาย่อยในกฎหมายมหาชน
กฎหมายใดที่ถือว่าอยู่ในสาขาย่อยของกฎหมายมหาชน
กฎหมายที่ถือว่าอยู่ในสาขาย่อยของกฎหมายมหาชน คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายการคลังและภาษีอากร กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง



ไม่มีความคิดเห็น: