วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

บทความที่7 การบังคับใช้กฎหมาย และการยกเลิกกฎหมาย


1. กฎหมายซึ่งบัญญัติขึ้นนั้น เมื่อจะนำมาบังคับใช้มีหลักสำคัญที่ต้องพิจารณาอยู่ 3 ประการ คือ เวลา สถานที่ และบุคคลที่ใช้บังคับ
2. ในการบังคับใช้กฎหมายให้ได้มีประสิทธิผลนั้น รัฐเองมีหน้าที่จะต้องเตรียมการให้พร้อมในด้านสถานที่ บุคลากร และประชาสัมพันธ์
3. การยกเลิกกฎหมาย คือการที่กฎหมายนั้นสิ้นสุดลง ไม่สามารถใช้บังคับได้อีกต่อไป การยกเลิกกฎหมายนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ การยกเลิกกฎหมายโดยตรง และการยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย

7.1 การบังคับใช้กฎหมาย
1. เวลาที่กฎหมายใช้บังคับนั้น ก็คือเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในตัวกฎหมายนั้นเองว่าจะให้กฎหมายนั้นใช้บังคับเมื่อใด อาจเป็นวันที่ประกาศใช้ หรือโดยกำหนดวันใช้ไว้แน่นอน หรือกำหนดให้ใช้เมื่อระยะเวลาหนึ่งล่วงพ้นไป
2. สถานที่ที่กฎหมายใช้บังคับ กฎหมายของประเทศไดก็ใช้บังคับได้ในอาณาเขตของประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นการใช้หลักดินแดน
3. กฎหมายย่อมใช้บังคับแก่บุคคลทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลสัญญาตินั้นเองหรือบุคคลต่างด้าวก็ตาม
4. การบังคับใช้กฎหมายให้ได้ผล ต้องมีการเตรียมการทั้งในด้านการประชาสัมพันธ์ บุคลากร สถานที่ และอุปกรณ์

7.1.1 เวลาที่กฎหมายใช้บังคับ
การบังคับใช้กฎหมายแบ่งได้เป็นกี่ประเภท
การบังคับใช้กฎหมายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) เวลาที่ใช้บังคับ
2) สถานที่ที่กฎหมายใช้บังคับ
3) บุคคลที่กฎหมายใช้บังคับ

อธิบายหลักทั่วไปของกำหนดเวลาที่กฎหมายใช้บังคับ
กำหนดเวลาที่กฎหมายใช้บังคับสามารถแบ่งได้เป็น 4 กรณี คือ
1) กรณีทั่วไป คือ โดยปกติกฎหมายมักจะกำหนดวันใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2) กรณีเร่งด่วน เป็นกรณีที่ต้องการใช้บังคับกฎหมายอย่างรีบด่วนให้ทันสถานการณ์ จึงกำหนด ให้ใช้ในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3) กำหนดเวลาให้ใช้เมื่อระยะเวลาหนึ่งล่วงไป เช่น เมื่อพ้นจากวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาทั้งนี้ เพื่อให้เวลาแก่ทางราชการที่เตรียมตัวให้พร้อมในการบังคับใช้กฎหมายนั้นและให้ประชาชนได้เตรียมศึกษาเพื่อปฏิบัติตามได้ถูกต้อง
4) กรณีพิเศษ กฎหมายอาจกำหนดให้พระราชบัญญัตินั้นใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่พระราชบัญญัตินั้นจะใช้ได้จริง ในท้องที่ใด เวลาใด

7.1.2 สถานที่ที่กฎหมายใช้บังคับ
หลักดินแดนหมายความว่าอย่างไร
“หลักดินแดน” หมายความว่า กฎหมายของประเทศใดก็ให้ใช้บังคับกฎหมายของประเทศนั้นภายในอาณาเขตของประเทศนั้น

7.1.3 บุคคลที่กฎหมายใช้บังคับ
บุคคลใดบ้างที่รัฐธรรมนูญยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับกฎหมาย
บุคคลที่รัฐธรรมนูญยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับกฎหมายได้แก่
1. พระมหากษัตริย์ เพราะเป็นที่เคารพสักการะ ใครจะล่วงละเมิดฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ไม่ได้ ไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญา
2. สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรี กรรมาธิการ และบุคคลที่ประธานสภาฯ อนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในสภาตลอดจนบุคคลผู้พิมพ์รายงานการประชุมตามคำสั่งของสภาฯ เหตุที่กฎหมายให้เอกสิทธิ์ไม่ให้ผู้ใดฟ้องบุคคลดังกล่าวในขณะปฏิบัติหน้าที่ในสภา ก็เพื่อแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของสภานั้นเอง เว้นแต่การประชุมนั้นจะมีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์

7.1.4 การเตรียมการบังคับใช้กฎหมาย
การเตรียมการบังคับใช้กฎหมายมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
การเตรียมการบังคับใช้กฎหมายแบ่งออกเป็น 3 กรณี
1. ด้านประชาสัมพันธ์ มีการเตรียมการ โดยผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าทางวิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้บุคคลต่างๆ ได้ทราบข้อมูล
2. ด้านเจ้าหน้าที่ ต้องมีการเตรียมการให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายมีความรู้ ความชำนาญ และความเข้าใจ เพื่อจะบังคับใช้กฎหมายได้ถูกต้อง
3. ด้านสถานที่และอุปกรณ์ มีการเตรียมสถานที่เพื่อให้เพียงพอให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย

7.2 การยกเลิกกฎหมาย
1. การยกเลิกกฎหมาย คือการทำให้กฎหมายที่เคยใช้บังคับอยู่นั้นสิ้นสุดลง โดยยกเลิกโดยตรง และยกเลิกโดยปริยาย
2. การยกเลิกกฎหมายโดยตรงนั้น แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ
1) ตัวกฎหมายนั้นเอง กำหนดวันที่ยกเลิกกฎหมายนั้นไว้
2) ยกเลิกโดยมีกฎหมายใหม่ ซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน กำหนดให้ยกเลิกไว้โดยตรง
3) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติ
3. การยกเลิกกฎหมายโดยปริยายนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีกฎหมายใหม่บัญญัติให้ยกเลิกกฎหมายเก่าโดยชัดแจ้ง แต่เป็นที่เห็นได้ว่ากฎหมายใหม่ย่อมยกเลิกกฎหมายเก่า เพราะกฎหมายใหม่ย่อมดีกว่ากฎหมายเก่า และหากประสงค์จะใช้กฎหมายเก่าอยู่ก็คงไม่บัญญัติกฎหมายในเรื่องเดียวกันขึ้นมาใหม่

7.2.1 การยกเลิกกฎหมายโดยตรง
อธิบายการยกเลิกกฎหมายโดยตรง
การยกเลิกกฎหมายโดยตรงแบ่งออกได้เป็น 3 กรณี คือ
1. ในกฎหมายนั้นเองกำหนดวันยกเลิกไว้เช่น ให้กฎหมายนี้สิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนด 3 ปี
2. เมื่อมีกฎหมายใหม่มีลักษณะเช่นเดียวกัน ระบุยกเลิกไว้โดยตรง ซึ่งอาจจะยกเลิกทั้งฉบับหรือบางมาตราก็ได้
3. เมื่อพระราชกำหนดที่ประกาศใช้ถูกยกเลิก เมื่อพระราชกำหนดได้ประกาศใช้แต่ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้น มีผลทำให้พระราชกำหนดนั้นถูกยกเลิกไป

7.2.2 การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย
เมื่อยกเลิกพระราชบัญญัติแล้ว พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอำนาจของกฎหมายนั้นจะถูกยกเลิกหรือไม่
เมื่อยกเลิกพระราชบัญญัติแล้ว พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอำนาจของกฎหมายนั้นจะถูกยกเลิกไปในตัวด้วยเพราะพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายแม่บท เมื่อกฎหมายแม่บทถูกยกเลิกไปแล้ว พระราชกฤษฎีกาซึ่งออกมาเพื่อจะให้มีดำเนินการให้เป็นกฎหมายแม่บทก็จะถูกยกเลิกไปด้วย

13 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดีค่ะ..


ได้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมากขึ้น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ว้าวๆๆๆรู้จักกฎหมายมากขึ้นอะ ทั้งประวัติด้วย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

กฎหมายมีอะไรที่เราไม่รู้อีกตั้งเยอะนะเนี่ย

ได้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายตั้งเยอะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดีมากอะไม่เคยรู้เรื่องแบบนี้เลย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

คว่มรู้ไหม่ๆๆ ไม่เคยรู้มาก่อน.....

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สุดยอดมากเลยครับ


เป็นอะไรที่วิเศษณ์ จริงๆ


ความรู้แน่นเลย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Good Job


woooooow



Wonderful!!

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ได้ความรู้ มากมาย เลย ครับ


ขอบคุณมากครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทำให้รู้เรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน
กฎหมายเป็นเรื่องใกล้ตัว...ศึกษาไว้จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เนื้อหา ให้ประโยชน์ได้ดีระดับหนึ่ง น่าจะเป็นประโยชน์ได้กับบุคคลทั่วไปที่ ไม่ได้ศึกษาเรื่องกฎหมายโดยตรงครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

กฎหมายเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนในสังคมมีสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน..

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สอบถามความรู้ได้มั้ยครับ ว่า หากมีการออกพระราชกฤษฎีกาแล้ว มีการประกาศกฎหมายลูกออกมา หาก พระราชกฤษฎีกาถูกยกเลิกไป กฎหมายที่ออกตามมาถูกยกเลิกไปด้วยมั้ย

Unknown กล่าวว่า...

ให้ความรู้ดีครับบบ