1. กฎหมายซึ่งบัญญัติขึ้นนั้น เมื่อจะนำมาบังคับใช้มีหลักสำคัญที่ต้องพิจารณาอยู่ 3 ประการ คือ เวลา สถานที่ และบุคคลที่ใช้บังคับ
2. ในการบังคับใช้กฎหมายให้ได้มีประสิทธิผลนั้น รัฐเองมีหน้าที่จะต้องเตรียมการให้พร้อมในด้านสถานที่ บุคลากร และประชาสัมพันธ์
3. การยกเลิกกฎหมาย คือการที่กฎหมายนั้นสิ้นสุดลง ไม่สามารถใช้บังคับได้อีกต่อไป การยกเลิกกฎหมายนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ การยกเลิกกฎหมายโดยตรง และการยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย
7.1 การบังคับใช้กฎหมาย
1. เวลาที่กฎหมายใช้บังคับนั้น ก็คือเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในตัวกฎหมายนั้นเองว่าจะให้กฎหมายนั้นใช้บังคับเมื่อใด อาจเป็นวันที่ประกาศใช้ หรือโดยกำหนดวันใช้ไว้แน่นอน หรือกำหนดให้ใช้เมื่อระยะเวลาหนึ่งล่วงพ้นไป
2. สถานที่ที่กฎหมายใช้บังคับ กฎหมายของประเทศไดก็ใช้บังคับได้ในอาณาเขตของประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นการใช้หลักดินแดน
3. กฎหมายย่อมใช้บังคับแก่บุคคลทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลสัญญาตินั้นเองหรือบุคคลต่างด้าวก็ตาม
4. การบังคับใช้กฎหมายให้ได้ผล ต้องมีการเตรียมการทั้งในด้านการประชาสัมพันธ์ บุคลากร สถานที่ และอุปกรณ์
7.1.1 เวลาที่กฎหมายใช้บังคับ
การบังคับใช้กฎหมายแบ่งได้เป็นกี่ประเภท
การบังคับใช้กฎหมายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) เวลาที่ใช้บังคับ
2) สถานที่ที่กฎหมายใช้บังคับ
3) บุคคลที่กฎหมายใช้บังคับ
อธิบายหลักทั่วไปของกำหนดเวลาที่กฎหมายใช้บังคับ
กำหนดเวลาที่กฎหมายใช้บังคับสามารถแบ่งได้เป็น 4 กรณี คือ
1) กรณีทั่วไป คือ โดยปกติกฎหมายมักจะกำหนดวันใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2) กรณีเร่งด่วน เป็นกรณีที่ต้องการใช้บังคับกฎหมายอย่างรีบด่วนให้ทันสถานการณ์ จึงกำหนด ให้ใช้ในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3) กำหนดเวลาให้ใช้เมื่อระยะเวลาหนึ่งล่วงไป เช่น เมื่อพ้นจากวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาทั้งนี้ เพื่อให้เวลาแก่ทางราชการที่เตรียมตัวให้พร้อมในการบังคับใช้กฎหมายนั้นและให้ประชาชนได้เตรียมศึกษาเพื่อปฏิบัติตามได้ถูกต้อง
4) กรณีพิเศษ กฎหมายอาจกำหนดให้พระราชบัญญัตินั้นใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่พระราชบัญญัตินั้นจะใช้ได้จริง ในท้องที่ใด เวลาใด
7.1.2 สถานที่ที่กฎหมายใช้บังคับ
หลักดินแดนหมายความว่าอย่างไร
“หลักดินแดน” หมายความว่า กฎหมายของประเทศใดก็ให้ใช้บังคับกฎหมายของประเทศนั้นภายในอาณาเขตของประเทศนั้น
7.1.3 บุคคลที่กฎหมายใช้บังคับ
บุคคลใดบ้างที่รัฐธรรมนูญยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับกฎหมาย
บุคคลที่รัฐธรรมนูญยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับกฎหมายได้แก่
1. พระมหากษัตริย์ เพราะเป็นที่เคารพสักการะ ใครจะล่วงละเมิดฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ไม่ได้ ไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญา
2. สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรี กรรมาธิการ และบุคคลที่ประธานสภาฯ อนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในสภาตลอดจนบุคคลผู้พิมพ์รายงานการประชุมตามคำสั่งของสภาฯ เหตุที่กฎหมายให้เอกสิทธิ์ไม่ให้ผู้ใดฟ้องบุคคลดังกล่าวในขณะปฏิบัติหน้าที่ในสภา ก็เพื่อแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของสภานั้นเอง เว้นแต่การประชุมนั้นจะมีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์
7.1.4 การเตรียมการบังคับใช้กฎหมาย
การเตรียมการบังคับใช้กฎหมายมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
การเตรียมการบังคับใช้กฎหมายแบ่งออกเป็น 3 กรณี
1. ด้านประชาสัมพันธ์ มีการเตรียมการ โดยผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าทางวิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้บุคคลต่างๆ ได้ทราบข้อมูล
2. ด้านเจ้าหน้าที่ ต้องมีการเตรียมการให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายมีความรู้ ความชำนาญ และความเข้าใจ เพื่อจะบังคับใช้กฎหมายได้ถูกต้อง
3. ด้านสถานที่และอุปกรณ์ มีการเตรียมสถานที่เพื่อให้เพียงพอให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย
7.2 การยกเลิกกฎหมาย
1. การยกเลิกกฎหมาย คือการทำให้กฎหมายที่เคยใช้บังคับอยู่นั้นสิ้นสุดลง โดยยกเลิกโดยตรง และยกเลิกโดยปริยาย
2. การยกเลิกกฎหมายโดยตรงนั้น แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ
1) ตัวกฎหมายนั้นเอง กำหนดวันที่ยกเลิกกฎหมายนั้นไว้
2) ยกเลิกโดยมีกฎหมายใหม่ ซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน กำหนดให้ยกเลิกไว้โดยตรง
3) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติ
3. การยกเลิกกฎหมายโดยปริยายนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีกฎหมายใหม่บัญญัติให้ยกเลิกกฎหมายเก่าโดยชัดแจ้ง แต่เป็นที่เห็นได้ว่ากฎหมายใหม่ย่อมยกเลิกกฎหมายเก่า เพราะกฎหมายใหม่ย่อมดีกว่ากฎหมายเก่า และหากประสงค์จะใช้กฎหมายเก่าอยู่ก็คงไม่บัญญัติกฎหมายในเรื่องเดียวกันขึ้นมาใหม่
7.2.1 การยกเลิกกฎหมายโดยตรง
อธิบายการยกเลิกกฎหมายโดยตรง
การยกเลิกกฎหมายโดยตรงแบ่งออกได้เป็น 3 กรณี คือ
1. ในกฎหมายนั้นเองกำหนดวันยกเลิกไว้เช่น ให้กฎหมายนี้สิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนด 3 ปี
2. เมื่อมีกฎหมายใหม่มีลักษณะเช่นเดียวกัน ระบุยกเลิกไว้โดยตรง ซึ่งอาจจะยกเลิกทั้งฉบับหรือบางมาตราก็ได้
3. เมื่อพระราชกำหนดที่ประกาศใช้ถูกยกเลิก เมื่อพระราชกำหนดได้ประกาศใช้แต่ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้น มีผลทำให้พระราชกำหนดนั้นถูกยกเลิกไป
7.2.2 การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย
เมื่อยกเลิกพระราชบัญญัติแล้ว พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอำนาจของกฎหมายนั้นจะถูกยกเลิกหรือไม่
เมื่อยกเลิกพระราชบัญญัติแล้ว พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอำนาจของกฎหมายนั้นจะถูกยกเลิกไปในตัวด้วยเพราะพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายแม่บท เมื่อกฎหมายแม่บทถูกยกเลิกไปแล้ว พระราชกฤษฎีกาซึ่งออกมาเพื่อจะให้มีดำเนินการให้เป็นกฎหมายแม่บทก็จะถูกยกเลิกไปด้วย
13 ความคิดเห็น:
ดีค่ะ..
ได้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมากขึ้น
ว้าวๆๆๆรู้จักกฎหมายมากขึ้นอะ ทั้งประวัติด้วย
กฎหมายมีอะไรที่เราไม่รู้อีกตั้งเยอะนะเนี่ย
ได้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายตั้งเยอะ
ดีมากอะไม่เคยรู้เรื่องแบบนี้เลย
คว่มรู้ไหม่ๆๆ ไม่เคยรู้มาก่อน.....
สุดยอดมากเลยครับ
เป็นอะไรที่วิเศษณ์ จริงๆ
ความรู้แน่นเลย
Good Job
woooooow
Wonderful!!
ได้ความรู้ มากมาย เลย ครับ
ขอบคุณมากครับ
ทำให้รู้เรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน
กฎหมายเป็นเรื่องใกล้ตัว...ศึกษาไว้จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบ
เนื้อหา ให้ประโยชน์ได้ดีระดับหนึ่ง น่าจะเป็นประโยชน์ได้กับบุคคลทั่วไปที่ ไม่ได้ศึกษาเรื่องกฎหมายโดยตรงครับ
กฎหมายเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนในสังคมมีสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน..
สอบถามความรู้ได้มั้ยครับ ว่า หากมีการออกพระราชกฤษฎีกาแล้ว มีการประกาศกฎหมายลูกออกมา หาก พระราชกฤษฎีกาถูกยกเลิกไป กฎหมายที่ออกตามมาถูกยกเลิกไปด้วยมั้ย
ให้ความรู้ดีครับบบ
แสดงความคิดเห็น